ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 30 เดือนเมษายน พ.ศ.2558


 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบร้องเพลง โดยการจับฉลากเพลง  


เพลงที่ดิฉันสอบร้อง คือ......

เพลง นกกระจิบ 


นั่นนก บินมาลิบลิบ

นกกระจิบ 1  2  3  4  5

อีกฝูงบินล่องลอยมา 6  7  8  9  10  ตัว 




วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ.2558

     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้     


- อาจารย์นัดแนะวันเรียนชดเชย (หยุดในวันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ.2558 ) 
  ซึ่งจะเรียนชดเชยในวันพฤหัสที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 
  โดยจะสอบร้องเพลง เวลา 10:00 น


     กิจกรรมก่อนเรียน >> ดิ่งพสุธา     


เป็นเกมทายใจสนุกๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายก่อนเริ่มเรียน 




^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  >> โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ^^



แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น โดยคณะกรรมการ, ผู้บรหาร, ครู 
-เพื่อให้เด็กได้รับการสอน และช่วยเหลือฟิ้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการ
  และความสามารถของเขา 
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
- ระบุวันเริ่มต้น และสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดประเมินผลเด็ก 

การเขียนแผน

- คัดแยกเด็กพิเศษ 
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ 
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถ ของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาว / ระยะสั้น 
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก 

- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
  ได้รับการศึกษา และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็ก 
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนให้เกมาะกับเด็ก 
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป 
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน และเขียนรายงานพัฒนาการ ความก้าวหน้าของเด็ก 
- ตรวจสอบ และประเมินได้เป็นระยะ 

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้าน กับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 

1. การรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

2. การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว >> กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ 
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น >> ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ 
- จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล 

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น  
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


     กิจกรรมหลังเรียน  >> แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล     


กิจกรรมกลุ่ม >> ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ
จากนั้นระดมความคิด ในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถนำวิธีการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปเขียนได้ 
    โดยระบุข้อมูลให้ถูกต้อง และครบถ้วน
2. ในการที่จะเขียนแผน IEP ได้นั้น จะต้องทราบข้อมูลเด็กทั้งหมด รวมถึงพฤติกรรมต่างๆของเด็ก 
    (ต้องใกล้ชิดกับเด็ก) จึงจะเป็นการเขียนแผนที่ถูกต้อง เหมาะสม และนำไปใช้ได้ตรงกับ-
    ความสามารถ และความต้องการของเด็ก เช่น
    ครูต้องทราบจุดเด่น และจุดด้อยของเด็ก เพื่อที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ 
3. ทราบว่าในการเขียนข้อมูลลงใน IEP นั้นจะต้องหาข้อมูลจากที่ใดบ้าง เช่น ข้อมูลทางการแพทย์  
4. การเขียนแผน IEP นั้นเป็นแนวทางในการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
    ทำให้ครูมีเป้าหมายที่ชัดเจน
5. สามารถประเมินผลได้จากการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมในด้านต่างๆของเด็ก
    โดยจะต้องบันทึกอย่างละเอียด ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น 

    

การประเมิน


ประเมินตนเอง    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
                           ชอบให้มรกิจกรรมก่อนเรียนค่ะ เพราะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานขึ้น 
                           เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน รู้สึกว่าการเขียนแผน IEP ไม่ยากอย่างที่คิด 
                           แต่จะต้องทราบข้อมูล และพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างดี 
                           มีส่วนร่วมในห้องเรียนในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม และร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม 
                          กับเพื่อนๆ อย่างสนุกสนานค่ะ ^^
ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก 
                          เพื่อนๆ ตั้งใจ และร่วมมือช่วยกันคิดกิจกรรมกลุ่ม การเขียนแผน IEP 
                          บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานในการเรียน และทำกิจกรรม^^ 
ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ นัดแนะวันเรียนชดเชยอย่างชัดเจน 
                           มีเทคนิกการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย ไม่เคร่งเครียดในเนื้อหาวิชา
                           และสอนสนุกสนานมากเหมือนทุกครั้งเลยค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 


วันอังคารที่ 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558



     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้     

วันนี้อาจารย์แจกสีไม้ให้นักศึกษาคนละ 1 กล่อง 
และเฉลยข้อสอบที่ได้สอบไป พร้อมอธิบาย และยกตัวอย่าง 


^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ >> การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ^^ 

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน 

เป้าหมาย 
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง 
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ 
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
- เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ

ตัวอย่าง
 ครูจะใช้ให้น้องไปหยิบสี (ครูรู้ว่าน้องหยิบสีไม่ได้) ครูควรเรียกเพื่อนอีกคนเป็นคู่บัดดี้ (เด็กปกติ) 
เพื่อให้น้องได้หยิบสี ทำตามคู่บัดดี้ (เด็กปกติ)

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ 
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ 
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่ 
*ควรซ้ำหลายๆรอบ และสังเกตปฎิกิริยาตอบสนองของเด็ก * 

การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม


                                                       
  การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก 
- การกรอกน้ำตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

                                                




ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ 
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
- รูปต่อที่มีจำนวนขิ้นไม่มาก
  




                                                        
   ความจำ
  - จากการสนทนา
  - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
  - จำตัวละครในนิทาน







           ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 
           - มิติสัมพันธ์ 
           - การวัด
           - การตวง
           - การชั่ง
            - การเปรียบเทียบ





การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ 
- ให้งานเด็กชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน 
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง 
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย 
- จดบันทึกว่าเด็กชอบทำอะไรมากที่สุด 
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง 
- พูดในทางที่ดี (การชม)
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก 

* การแจกอุปกรณ์ ครูควรให้เด็กได้เดินมาหยิบอุปกรณ์ด้วยตนเอง * 


การนำไปประยุกต์ใช้


1. เด็กมีช่วงความสนใจที่สั้น (ไม่เกิน 3 นาที) ครูควรฝึกให้เด็กมีสมาธิให้มากขึ้น 
    เช่น การเล่านิทาน ควรเริ่มจากการเล่านิทานเรื่องที่มีเนื้อหาสั้นๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มระดับ
    ความยาวของเนื้อเรื่อง เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเขาสามารถฟังจนจบได้ 
2. เด็กเรียนรู้จากการเลียนแบบ ดังนั้นครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
    จากการเลียนแบบเพื่อน (เด็กปกติ) โดยการจับคู้บัดดี้ให้กับเด็ก 
3. การจัดอุปกรณ์ หรือสื่อให้เด็กเล่นนั้น ควรเป็นอุปกรณืที่มีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะจับได้ 
    และจำนวนไม่มาก เพราะเด็กจะสามารถเล่นได้จนสำเร็จ  และควรเป็นอุปกรณ์ที่ด็กคุ้นเคย 
    จะทำให้เด็กเกิดความมั้นใจมากขึ้น เพราะเด็กเคยใช้มาแล้ว 
4. ครูต้องคอยพูดถาม คอยชี้นำคำตอบให้กับเด็ก และพูดชื่นชมเด็ก 


การประเมิน 

ประเมินตนเอง  : เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้ใส่เสื้อสีดำมาเรียน เพราะลืมเสื้อสีชมพู
                         ตั้งใจเรียน  จดบันทึกอย่างละเอียด เพราะจะได้ไม่ลืม พอกลับมาอ่านทบทวน
                         จะได้จำได้ มีส่วนร่วมตอบคำถามที่อาจารย์ถาม ยังร้องเพลงไม่ค่อยได้
                         มีหลายเพลงที่ไม่เคยฟังมาก่อน เพลงที่อาจารย์นำมาสอนเพราะมากค่ะ
                         เหมาะกับเด็กๆมาก เรียนสนุกไม่เครียดค้ะ ^^
ประเมินเพื่อน    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนๆตั้งใจเรียน จดบันทึกที่อาจารย์สอน
                         มีคุยกันบ้าง เล่นกันบ้าง แต่ทุกคนก็ตั้งใจฟัง และชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
                         เหตุการณ์ให้ฟัง ไม่น่าเบื่อ ไม่เครียด บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน
                         เหมือนทุกครั้ง
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์เฉลยข้อสอบอย่างละเอียด
                          ทำให้เข้าใจมากค่ะ เนื้อหาที่สอนไม่มากจนเกินไป อาจารย์ยกตัวอย่าง
                          ที่เข้าใจง่าย ตอบคำถามที่เพื่อนถาม ให้ความสนใจนักศึกษามาก
                          ร้องเพลงเพราะ สอนสนุกมากค่ะ





วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากใกล้ถึงวันกีฬาสี      

อาจารย์จึงให้นักศึกษาทำอุปกรณ์ ที่ใช้ในงานกีฬาสี 








วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 24 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 


                                      วันนี้สอบเก็บคะแนน  


   ข้อสอบมี 5 ข้อ 10 คะแนน

              ข้อสอบเป็นการยกสถานการณ์ต่างๆ และให้นักศึกษาได้คิดหาวิธี จากความรู้ที่ได้เรียนมา 
นำมาแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่อาจารย์กำหนดให้ เพื่อทดสอบว่าหากไปพบเจอสถานการณ์ต่างๆ
ในห้องเรียนเรียนรวม นักศึกษาจะมีวิธีการในการแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งแต่ละคนก็อาจมีวิธี
การแก้ปัญหาที่เหมือน และแตกต่างกัน ^^






วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้    


                   อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง การไปสังเกตเด็กอนุบาล ที่โรงเรียนต่างๆ 
เนื่องจากการเลือกโรงเรียนที่จะไปสังเกตนั้น ควรเลือกโรงเรียนที่ตนเองชอบ และสามารถเดินทางไป
ได้สะดวก ห้ามเลือกโรงเรียนตามเพื่อน เพราะถ้าหากตนเองไม่ชอบ และไม่สะดวกในการเดินทาง
จะก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง 

กิจกรรมก่อนเรียน >> เที่ยวสวนสตอว์เบอรี่ 


เป็นเกมทายใจสนุกๆ คลายเครียด ทำให้บรรยากาศก่อนที่จะเริ่มเรียนสนุกสนานกันมากขึ้น 




^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  >> การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ^^


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 


การสร้างความอิสระ

- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- เด็กอยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ 

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 

- การได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง 
- เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ในสิ่งที่มีความรู้สึกดี 

หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) เพราะบางที เมื่อเด็กทำไม่ได้ ครูอาจจะสงสารเด็ก
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากจนเกินไป
-  ต้องให้เวลาเด็กในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
- อย่าพูดคำว่า "หนูทำช่า", "หนูทำไม่ได้" ซึ่งเป็นการปิดโอกาสของเด็กในการทำสิ่งต่างๆ

จะช่วยเมื่อไหร่ 

- ในบางวันเด็กอาจไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่ค่อยสบาย
- เด็กอาจมาขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว 
- เด็กรู้สึกว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 

- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (การย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

การวางแผนทีละขั้น 

- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 

สรุป

- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง 
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 

   กิจกรรม สีสันในหัวใจ & ต้นไม้หลากสีสัน   










การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถจัดการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง โดยที่ครูช่วยเฉพาะในสิ่งที่
    เด็กมาขอให้ครูช่วยเท่านั้น ไม่ช่วยมากจนเกินความจำเป็น 
2. ไม่พูดคำว่า "หนูทำช้า", "หนูยังทำไม่ได้" เพราะเป็นคำที่ปิดโอกาสเด็ก ในการทำสิ่งต่างๆ
   ด้วยตนเอง 
3. ควรให้เวลากับเด็กในการทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง 
4. สามารถลำดับขั้นในการย่อยงานให้กับเด็กได้ เช่น การเก็บของเล่น
    ขั้นที่ 1 : เอื้อมมือไปจับของเล่น
    ขั้นที่ 2 : กำมือจับของเล่น 
    ขั้นที่ 3 : ยกมือที่กำของเล่นอยู่ขึ้น
    ขั้นที่ 4 : ยื่นมือไปที่ตะกร้าใส่ของเล่น
    ขั้นที่ 5 : ปล่อยของเล่นที่อยู่ในมือลงไปในตะกร้า 


การประเมิน


ประเมินตนเอง    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
                           วันนี้รู้สึกเพลียๆ และไม่ค่อยสบาย แต่ก็เรียน และทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
                           เหมือนทุกครั้ง รู้สึกตื่นเต้น และอยากไปสังเกตเด็กในโรงเรียนอนุบาลมากค้ะ 
                           ในการฝึกสอน และการเขียนแผนต่างๆ อาจจะยากบ้าง แต่ก็คงจะสนุกมากๆเลย 
                           เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ตอนแรกยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการสอนไปข้างหน้า 
                           และการสอนย้อนกลับจากข้างหลัง ชอบกิจกรรมสีสันในหัวใจมากค้ะ เพราะได้
                           ระบายสีอะไรก็ได้ที่ต้องการ สามารถบอกลักษณะตัวตนจากการใช้สีได้
                           และนำมาต่อเติมเป็นต้นไม้ที่หลากสีสีน สวยงามมากค้ะ 
ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก 
                          และมีส่วนร่วมในห้องเรียน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานค้ะ
                          ทุกคนเรียนสบายๆ ไม่เครียด และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกัน
                          อย่างสนุกสนาน 
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีการพูดคุเกี่ยวกับการเลือกโรงเรียนที่
                           นักศึกษาจะต้องไปสังเกตเด็กๆ ซึ่งจะมีการประชุมกันในสาขา 
                           อาจารย์มีกิจกรรมก่อนเรียนที่สนุกๆ คลายเครียดมาให้เล่นกันเหมือนทุกครั้ง 
                           อาจารย์มีเทคนิกที่ดี และสนุกมากในการสอน มีเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย 
                           มีการยกตัวอย่างในเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ทำให้นักศึกษาเรียนไม่เบื่อ 
                           เรียนเข้าใจ และเรียนสนุกมากค้ะ ^^




วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 10 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   


อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครู
ซึ่งในการสอบนั้น จะแบ่งออกเป็น ภาค ก., ภาค ข. และการสอบสัมภาษณ์

ภาค ก. >> มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การศึกษาไทย, ความรู้ทั่วไป, วิชา 9 มาตรฐานวิชาชีพ
ภาค ข. >> มีเนื้อหาที่เป็นรายวิชาเอก 
สอบสัมภาษณ์ >> ผู้สัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการของแต่ละโรงเรียน 

** ในการสัมภาษณ์ เมื่อต้องนำเสนอการสอนต่างๆ 
ต้องขออนุญาติก่อน เพื่อการมีมารยาทที่เหมาะสม **


กิจกรรมก่อนเรียน >> เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า เป็นเกมสนุกๆ จากแบบทดสอบจิตวิทยา 




VDO  >>  อาจารย์เปิดวีดีโอให้นักศึกษาดู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ  
ซึ่งโรงเรียนนี้มีห้องเรียนรวมจาก วีดีโอ การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเรียนรวม 
มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 

1.) กิจกรรมที่นำจังหวะดนตรี และเสียงเพลงเข้ามาใช้ในกิจกรรม 
     - เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
     - กระโดด >> เด็กได้ฝึกการทรงตัว, การสัมพันธ์ซ้ายขวา 

2.) กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 
     - เด็กส่งสิ่งของกับเพื่อนๆ 
     - มีบทกลอนประกอบ 

3.) กิจกรรม กระโดดประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    - มีเสียงดนตรี โดยครูเป่าขลุ่ยเป็นเพลง 

4.) กิจกรรมโยน-รับลูกบอล
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

5.) กิจกรรมกิ้งกือ 
    - มีนิทาน และเพลงประกอบ 

6.) กิจกรรมศืลปะสร้างสรรค์ 
     - วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ

7.) กิจกรรมกลางแจ้ง
    - เด็กๆวิ่งเล่นกัน บริเวณนอกอาคารเรียน 

8.) กิจกรรม รับ-ส่งลูกบอล ประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กโยนรับบอล และเดินข้ามไปทีละห่วง
    - ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา 


^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ >> การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ ^^ 

2. ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม 
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม 

การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครู และผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือการพูดไม่ชัด 
- ห้ามบอกกับเด็กว่า "พูดช้าๆ", "ตามสบาย", "คิดก่อนพูด" 
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด 
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 
- เด็กที่พูดไม่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษา มาก่อนการแสดงออกทางภาษา (ฟังก่อนการพูด)
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด มาก่อนภาษาพูด (สีหน้า, ท่าทาง)
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะ หากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดี และโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่างหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก 


การสอนตามสถานการณ์ 

เช่น ขณะที่เด็กกำลังพยายามติดกระดุม 


หน้าที่ครู   > 1.) เข้าไปถามเด็ก "ทำอะไรอยู่" 
                     2.) จากข้อที่1 หากเด็กไม่ตอบ ครูต้องบอกบท "ติดกระดุมอยู่ใช่มั้ย เดี๋ยวครูติดให้นะ"
                     3.) ฝึกให้เด็กพูดตาม "ติดกระดุม' 
                     4.) ครูติดให้ หรือจับมือเด็กติดกระดุม

** ถ้าครูเข้าไปติดกระดุมให้เด็กทันที ในขณะที่เด็กกำลังพยายามติดอยู่นั้น มีผลทำให้
     เด็กติดกระดุมด้ายตนเองไม่ได้ และไม่เกิดทักษะทางภาษา เพราะ เด็กไม่ได้บอกความ-
     ต้องการของตนเอง **

Post test

ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษา ในห้องเรียนเรียนรวมได้อย่างไร


   กิจกรรม ดนตรีบำบัด   





เด็กได้รับพัฒนาการอย่างรอบด้าน 


ด้านร่างกาย >> การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 
ด้านอารณ์   >> เด็กสนุกสนาน และได้ผ่อนคลาย 
ด้านสังคม   >> การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน
ด้านสติปัญญา >> เด็กได้จินตนาการ, การใช้สีที่หลากหลาย และการมีสมาธิ


การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. เป็นแนวทางการอ่านเนื้อหาต่างๆ ในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
    เพื่อสอบบรรจุข้าราชการ หลังเรียนจบ
2. สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายมากขึ้น เช่น โยน-รับ พร้อมเดินข้ามห่วง, กิจกรรมกิ้งกือ เป็นต้น
3. การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษ สามถรถจัดได้เหมือนกับเด็กปกติ
4. หากเด็กไม่พูด ครูต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ ทุกวัน จะทำให้เด็กสามารถพูดตามได้
5. การจัดห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา สามารถทำได้ เช่น แปะชื่อสิ่งของต่างๆ
    ที่อยู่ในห้องเรียน เด็กจะได้สังเกตการเขียนชื่อสิ่งของที่ครูเขียนติดไว้
6. สามารถกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง โดยการเข้าไปถาม
    ถ้าเด็กยังไม่พูดก็สามารถบอกบท เพื่อให้เด็กพูดตามได้
7. ให้เวลาเด็กได้พูด ไม่พูดขัดขณะที่เด็กพูด และรับฟังเด็ก
8. สามารถนำกิจกรรมดนตรีบำบัด มาใช้กับเด็กพิเศษ และเด็กปกติได้
   ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ จะต้องเงียบที่สุด ^^


การประเมิน

ประเมินตนเอง    :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกสิ่งที่เรียน 
                            ชอบกิจกรรม และเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว 
                            และสามารถนำมาไปใช้ได้จริง วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนแตกต่าง
                            กว่าทุกครั้ง เพราะอาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เรียนช่วงบ่าย มาเรียนรวมกัน
                            กับช่วงเช้า ทำให้มีเพื่อนๆในห้องเรียนมากขึ้น  รู้สึกเปลี่ยนบรรยากาศ 
                            แต่ก็สนุกสนานมากค่ะ  จากที่ไม่ค่อยได้เจอกันกับเพื่อนต่างกลุ่ม 
                            ก็ได้พูดคุยกัน^^ 
ประเมินเพื่อน      : เพื่อนๆส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ขณะเรียนมีการ
                           จดบันทึก เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในห้องเรียน แต่ก็มีคุย
                           และส่งเสียงดังบ้าง บรรยากาศสนุกสนานดี มีเสียงหัวเราะ
                           ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก 
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนสนุกมาก มีเนื้อหาที่กระชับ
                           เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาที่สอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
                           นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังมีกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน 
                           และมีกิจกรรมดนตรีบำบัด รูปแบบใหม่ที่ต่างจากครั้งที่แล้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดี
                           เหมาะสมการนำไปใช้กับเด็กได้เป็นอย่างดี 




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


วันอังคารที่ 3 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   


              กิจกรรมก่อนเรียน >>  กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต เป็นเกมสนุกๆ 
                                               ให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนานก่อนที่จะเริ่มเรียน ^^ 




^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  >> การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ ^^


1. ทักษะทางสังคม 
- การที่เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคมนั้น ไม่ได้เกิดจาพ่อแม่
- พัฒนาการของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง

   กิจกรรมการเล่น 
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอิ่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
- เด็กจะเลียนแบบการเล่นของเพื่อน

   ยุทธศาสตร์การสอน 
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น
- ครูจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- ครูต้องจดบันทึก และเขียนแผน IEP


     การกระตุ้นการเลียนแบบ
 - วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
 - คำนึงถึงเด็กทุกคน
 - ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
 - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ




                                                          
   ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
 - อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้ม และพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชย หรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม





การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
- ทำโดย " การพูดนำของครู "

  


 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้ กฎเกณฑ์
- เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
- การให้โอกาสเด็ก
- ครูไม่ต้องใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


    กิจกรรม ดนตรีบำบัด   









   เพลง สำหรับเด็กปฐมวัย    




คำถามท้ายหลังเรียน


ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคม ให้กับเด็กในห้องเรียนรวมได้อย่างไร 



การนำไปประยุกต์ใช้

1. เน้นการปรับพฤติกรรม และการส่งเสริมทักษะทางสังคมให้กับตัวเด็ก
    มากกว่าการจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงาม
2. ทักษะที่ควรเน้นกับเด็กพิเศษคือ ทักษะทางด้านสังคม, ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    และทักษะการใช้ภาษา
3. การจัดกลุ่มให้เด็กเล่น 4 คน ควรให้มีเด็กพิเศษจำนวน 1 คน และเด็กปกติจจำนวน 3 คน
4. ขณะที่เด็กเล่น ครูควรค่อยๆเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เล่นทุกอย่าง และสนใจทีละอย่าง
    เพราะถ้าให้อุปกรณ์ทั้งหมดในครั้งเดียว เด็กจะเล่นแค่บางอย่าง และเล่นไม่นาน
5. ครูไม่หันหลังให้เด็ก เพราะเด็กอาจเข้าใจว่าครูไม่สนใจ และเด็กอาจทำในสิ่งที่ครูไม่ได้ให้ทำ
    ครูต้องพยายามให้เด็กรู้สึกว่าครูมองอยู่ตลอด
6.ในการชมเชย ควรชมเฉพาะเมื่อเด็กทำสิ่งที่ครูให้ทำได้ (ชมเฉพาะสิ่งที่เป็นเป้าหมาย)
7. สามารถบอกบทได้ เพราะเด็กพิเศษ มักจะไม่พูด
8. ครูควรสร้างความสนใจให้กับเด็กที่อยากจะเข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อนที่กำลังเล่นกันอยู่
    เช่น ให้เด็กถือของเล่นเข้าไปในกลุ่มเพื่อน
9. เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
10. สามารถจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดได้ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ พัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน
      เป็นการฝึกสมาธิ, ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์, การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, ดนตรีทำให้ผ่อนคลาย
      และเด็กได้ถ่ายทอดความรู้สึกของเพลง และรวมถึงการทำงานร่วมกันกับเพื่อน


การประเมิน 

ประเมินตนเอง   :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
                           เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน สนใจ และตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
                           ขณะเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด ชอบในเนื้อหา และการยกตัวอย่างที่อาจารย์
                           นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ น่าสนใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน     : โดยส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบ
                            เพื่อนๆให้ความสนใจ มีส่วนร่วมให้ห้องเรียน มีการจดบันทึกความรู้ต่างๆ
                            บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน เฮฮา เรียนอย่างมีความสุข ^^
ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการยกตัวอย่างเพิ่มเติม
                            ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาได้ดี อาจารย์อารมณ์ดี สอนสนุกไม่เครียด
                            มีกิจกรรมดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง
                            ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ