ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 10 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   


อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครู
ซึ่งในการสอบนั้น จะแบ่งออกเป็น ภาค ก., ภาค ข. และการสอบสัมภาษณ์

ภาค ก. >> มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การศึกษาไทย, ความรู้ทั่วไป, วิชา 9 มาตรฐานวิชาชีพ
ภาค ข. >> มีเนื้อหาที่เป็นรายวิชาเอก 
สอบสัมภาษณ์ >> ผู้สัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการของแต่ละโรงเรียน 

** ในการสัมภาษณ์ เมื่อต้องนำเสนอการสอนต่างๆ 
ต้องขออนุญาติก่อน เพื่อการมีมารยาทที่เหมาะสม **


กิจกรรมก่อนเรียน >> เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า เป็นเกมสนุกๆ จากแบบทดสอบจิตวิทยา 




VDO  >>  อาจารย์เปิดวีดีโอให้นักศึกษาดู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ  
ซึ่งโรงเรียนนี้มีห้องเรียนรวมจาก วีดีโอ การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเรียนรวม 
มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 

1.) กิจกรรมที่นำจังหวะดนตรี และเสียงเพลงเข้ามาใช้ในกิจกรรม 
     - เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
     - กระโดด >> เด็กได้ฝึกการทรงตัว, การสัมพันธ์ซ้ายขวา 

2.) กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 
     - เด็กส่งสิ่งของกับเพื่อนๆ 
     - มีบทกลอนประกอบ 

3.) กิจกรรม กระโดดประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    - มีเสียงดนตรี โดยครูเป่าขลุ่ยเป็นเพลง 

4.) กิจกรรมโยน-รับลูกบอล
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

5.) กิจกรรมกิ้งกือ 
    - มีนิทาน และเพลงประกอบ 

6.) กิจกรรมศืลปะสร้างสรรค์ 
     - วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ

7.) กิจกรรมกลางแจ้ง
    - เด็กๆวิ่งเล่นกัน บริเวณนอกอาคารเรียน 

8.) กิจกรรม รับ-ส่งลูกบอล ประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กโยนรับบอล และเดินข้ามไปทีละห่วง
    - ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา 


^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ >> การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ ^^ 

2. ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม 
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม 

การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครู และผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือการพูดไม่ชัด 
- ห้ามบอกกับเด็กว่า "พูดช้าๆ", "ตามสบาย", "คิดก่อนพูด" 
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด 
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 
- เด็กที่พูดไม่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษา มาก่อนการแสดงออกทางภาษา (ฟังก่อนการพูด)
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด มาก่อนภาษาพูด (สีหน้า, ท่าทาง)
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะ หากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดี และโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่างหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก 


การสอนตามสถานการณ์ 

เช่น ขณะที่เด็กกำลังพยายามติดกระดุม 


หน้าที่ครู   > 1.) เข้าไปถามเด็ก "ทำอะไรอยู่" 
                     2.) จากข้อที่1 หากเด็กไม่ตอบ ครูต้องบอกบท "ติดกระดุมอยู่ใช่มั้ย เดี๋ยวครูติดให้นะ"
                     3.) ฝึกให้เด็กพูดตาม "ติดกระดุม' 
                     4.) ครูติดให้ หรือจับมือเด็กติดกระดุม

** ถ้าครูเข้าไปติดกระดุมให้เด็กทันที ในขณะที่เด็กกำลังพยายามติดอยู่นั้น มีผลทำให้
     เด็กติดกระดุมด้ายตนเองไม่ได้ และไม่เกิดทักษะทางภาษา เพราะ เด็กไม่ได้บอกความ-
     ต้องการของตนเอง **

Post test

ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษา ในห้องเรียนเรียนรวมได้อย่างไร


   กิจกรรม ดนตรีบำบัด   





เด็กได้รับพัฒนาการอย่างรอบด้าน 


ด้านร่างกาย >> การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 
ด้านอารณ์   >> เด็กสนุกสนาน และได้ผ่อนคลาย 
ด้านสังคม   >> การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน
ด้านสติปัญญา >> เด็กได้จินตนาการ, การใช้สีที่หลากหลาย และการมีสมาธิ


การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. เป็นแนวทางการอ่านเนื้อหาต่างๆ ในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
    เพื่อสอบบรรจุข้าราชการ หลังเรียนจบ
2. สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายมากขึ้น เช่น โยน-รับ พร้อมเดินข้ามห่วง, กิจกรรมกิ้งกือ เป็นต้น
3. การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษ สามถรถจัดได้เหมือนกับเด็กปกติ
4. หากเด็กไม่พูด ครูต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ ทุกวัน จะทำให้เด็กสามารถพูดตามได้
5. การจัดห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา สามารถทำได้ เช่น แปะชื่อสิ่งของต่างๆ
    ที่อยู่ในห้องเรียน เด็กจะได้สังเกตการเขียนชื่อสิ่งของที่ครูเขียนติดไว้
6. สามารถกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง โดยการเข้าไปถาม
    ถ้าเด็กยังไม่พูดก็สามารถบอกบท เพื่อให้เด็กพูดตามได้
7. ให้เวลาเด็กได้พูด ไม่พูดขัดขณะที่เด็กพูด และรับฟังเด็ก
8. สามารถนำกิจกรรมดนตรีบำบัด มาใช้กับเด็กพิเศษ และเด็กปกติได้
   ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ จะต้องเงียบที่สุด ^^


การประเมิน

ประเมินตนเอง    :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกสิ่งที่เรียน 
                            ชอบกิจกรรม และเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว 
                            และสามารถนำมาไปใช้ได้จริง วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนแตกต่าง
                            กว่าทุกครั้ง เพราะอาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เรียนช่วงบ่าย มาเรียนรวมกัน
                            กับช่วงเช้า ทำให้มีเพื่อนๆในห้องเรียนมากขึ้น  รู้สึกเปลี่ยนบรรยากาศ 
                            แต่ก็สนุกสนานมากค่ะ  จากที่ไม่ค่อยได้เจอกันกับเพื่อนต่างกลุ่ม 
                            ก็ได้พูดคุยกัน^^ 
ประเมินเพื่อน      : เพื่อนๆส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ขณะเรียนมีการ
                           จดบันทึก เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในห้องเรียน แต่ก็มีคุย
                           และส่งเสียงดังบ้าง บรรยากาศสนุกสนานดี มีเสียงหัวเราะ
                           ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก 
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนสนุกมาก มีเนื้อหาที่กระชับ
                           เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาที่สอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
                           นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังมีกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน 
                           และมีกิจกรรมดนตรีบำบัด รูปแบบใหม่ที่ต่างจากครั้งที่แล้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดี
                           เหมาะสมการนำไปใช้กับเด็กได้เป็นอย่างดี 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น