ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 24 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 


                                      วันนี้สอบเก็บคะแนน  


   ข้อสอบมี 5 ข้อ 10 คะแนน

              ข้อสอบเป็นการยกสถานการณ์ต่างๆ และให้นักศึกษาได้คิดหาวิธี จากความรู้ที่ได้เรียนมา 
นำมาแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่อาจารย์กำหนดให้ เพื่อทดสอบว่าหากไปพบเจอสถานการณ์ต่างๆ
ในห้องเรียนเรียนรวม นักศึกษาจะมีวิธีการในการแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งแต่ละคนก็อาจมีวิธี
การแก้ปัญหาที่เหมือน และแตกต่างกัน ^^






วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้    


                   อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง การไปสังเกตเด็กอนุบาล ที่โรงเรียนต่างๆ 
เนื่องจากการเลือกโรงเรียนที่จะไปสังเกตนั้น ควรเลือกโรงเรียนที่ตนเองชอบ และสามารถเดินทางไป
ได้สะดวก ห้ามเลือกโรงเรียนตามเพื่อน เพราะถ้าหากตนเองไม่ชอบ และไม่สะดวกในการเดินทาง
จะก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง 

กิจกรรมก่อนเรียน >> เที่ยวสวนสตอว์เบอรี่ 


เป็นเกมทายใจสนุกๆ คลายเครียด ทำให้บรรยากาศก่อนที่จะเริ่มเรียนสนุกสนานกันมากขึ้น 




^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  >> การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ^^


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 


การสร้างความอิสระ

- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- เด็กอยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ 

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 

- การได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง 
- เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ในสิ่งที่มีความรู้สึกดี 

หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) เพราะบางที เมื่อเด็กทำไม่ได้ ครูอาจจะสงสารเด็ก
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากจนเกินไป
-  ต้องให้เวลาเด็กในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
- อย่าพูดคำว่า "หนูทำช่า", "หนูทำไม่ได้" ซึ่งเป็นการปิดโอกาสของเด็กในการทำสิ่งต่างๆ

จะช่วยเมื่อไหร่ 

- ในบางวันเด็กอาจไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่ค่อยสบาย
- เด็กอาจมาขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว 
- เด็กรู้สึกว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 

- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (การย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

การวางแผนทีละขั้น 

- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 

สรุป

- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง 
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 

   กิจกรรม สีสันในหัวใจ & ต้นไม้หลากสีสัน   










การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถจัดการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง โดยที่ครูช่วยเฉพาะในสิ่งที่
    เด็กมาขอให้ครูช่วยเท่านั้น ไม่ช่วยมากจนเกินความจำเป็น 
2. ไม่พูดคำว่า "หนูทำช้า", "หนูยังทำไม่ได้" เพราะเป็นคำที่ปิดโอกาสเด็ก ในการทำสิ่งต่างๆ
   ด้วยตนเอง 
3. ควรให้เวลากับเด็กในการทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง 
4. สามารถลำดับขั้นในการย่อยงานให้กับเด็กได้ เช่น การเก็บของเล่น
    ขั้นที่ 1 : เอื้อมมือไปจับของเล่น
    ขั้นที่ 2 : กำมือจับของเล่น 
    ขั้นที่ 3 : ยกมือที่กำของเล่นอยู่ขึ้น
    ขั้นที่ 4 : ยื่นมือไปที่ตะกร้าใส่ของเล่น
    ขั้นที่ 5 : ปล่อยของเล่นที่อยู่ในมือลงไปในตะกร้า 


การประเมิน


ประเมินตนเอง    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
                           วันนี้รู้สึกเพลียๆ และไม่ค่อยสบาย แต่ก็เรียน และทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
                           เหมือนทุกครั้ง รู้สึกตื่นเต้น และอยากไปสังเกตเด็กในโรงเรียนอนุบาลมากค้ะ 
                           ในการฝึกสอน และการเขียนแผนต่างๆ อาจจะยากบ้าง แต่ก็คงจะสนุกมากๆเลย 
                           เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ตอนแรกยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการสอนไปข้างหน้า 
                           และการสอนย้อนกลับจากข้างหลัง ชอบกิจกรรมสีสันในหัวใจมากค้ะ เพราะได้
                           ระบายสีอะไรก็ได้ที่ต้องการ สามารถบอกลักษณะตัวตนจากการใช้สีได้
                           และนำมาต่อเติมเป็นต้นไม้ที่หลากสีสีน สวยงามมากค้ะ 
ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก 
                          และมีส่วนร่วมในห้องเรียน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานค้ะ
                          ทุกคนเรียนสบายๆ ไม่เครียด และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกัน
                          อย่างสนุกสนาน 
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีการพูดคุเกี่ยวกับการเลือกโรงเรียนที่
                           นักศึกษาจะต้องไปสังเกตเด็กๆ ซึ่งจะมีการประชุมกันในสาขา 
                           อาจารย์มีกิจกรรมก่อนเรียนที่สนุกๆ คลายเครียดมาให้เล่นกันเหมือนทุกครั้ง 
                           อาจารย์มีเทคนิกที่ดี และสนุกมากในการสอน มีเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย 
                           มีการยกตัวอย่างในเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ทำให้นักศึกษาเรียนไม่เบื่อ 
                           เรียนเข้าใจ และเรียนสนุกมากค้ะ ^^




วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 10 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   


อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครู
ซึ่งในการสอบนั้น จะแบ่งออกเป็น ภาค ก., ภาค ข. และการสอบสัมภาษณ์

ภาค ก. >> มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การศึกษาไทย, ความรู้ทั่วไป, วิชา 9 มาตรฐานวิชาชีพ
ภาค ข. >> มีเนื้อหาที่เป็นรายวิชาเอก 
สอบสัมภาษณ์ >> ผู้สัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการของแต่ละโรงเรียน 

** ในการสัมภาษณ์ เมื่อต้องนำเสนอการสอนต่างๆ 
ต้องขออนุญาติก่อน เพื่อการมีมารยาทที่เหมาะสม **


กิจกรรมก่อนเรียน >> เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า เป็นเกมสนุกๆ จากแบบทดสอบจิตวิทยา 




VDO  >>  อาจารย์เปิดวีดีโอให้นักศึกษาดู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ  
ซึ่งโรงเรียนนี้มีห้องเรียนรวมจาก วีดีโอ การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเรียนรวม 
มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 

1.) กิจกรรมที่นำจังหวะดนตรี และเสียงเพลงเข้ามาใช้ในกิจกรรม 
     - เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
     - กระโดด >> เด็กได้ฝึกการทรงตัว, การสัมพันธ์ซ้ายขวา 

2.) กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 
     - เด็กส่งสิ่งของกับเพื่อนๆ 
     - มีบทกลอนประกอบ 

3.) กิจกรรม กระโดดประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    - มีเสียงดนตรี โดยครูเป่าขลุ่ยเป็นเพลง 

4.) กิจกรรมโยน-รับลูกบอล
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

5.) กิจกรรมกิ้งกือ 
    - มีนิทาน และเพลงประกอบ 

6.) กิจกรรมศืลปะสร้างสรรค์ 
     - วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ

7.) กิจกรรมกลางแจ้ง
    - เด็กๆวิ่งเล่นกัน บริเวณนอกอาคารเรียน 

8.) กิจกรรม รับ-ส่งลูกบอล ประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กโยนรับบอล และเดินข้ามไปทีละห่วง
    - ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา 


^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ >> การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ ^^ 

2. ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม 
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม 

การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครู และผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือการพูดไม่ชัด 
- ห้ามบอกกับเด็กว่า "พูดช้าๆ", "ตามสบาย", "คิดก่อนพูด" 
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด 
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 
- เด็กที่พูดไม่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษา มาก่อนการแสดงออกทางภาษา (ฟังก่อนการพูด)
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด มาก่อนภาษาพูด (สีหน้า, ท่าทาง)
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะ หากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดี และโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่างหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก 


การสอนตามสถานการณ์ 

เช่น ขณะที่เด็กกำลังพยายามติดกระดุม 


หน้าที่ครู   > 1.) เข้าไปถามเด็ก "ทำอะไรอยู่" 
                     2.) จากข้อที่1 หากเด็กไม่ตอบ ครูต้องบอกบท "ติดกระดุมอยู่ใช่มั้ย เดี๋ยวครูติดให้นะ"
                     3.) ฝึกให้เด็กพูดตาม "ติดกระดุม' 
                     4.) ครูติดให้ หรือจับมือเด็กติดกระดุม

** ถ้าครูเข้าไปติดกระดุมให้เด็กทันที ในขณะที่เด็กกำลังพยายามติดอยู่นั้น มีผลทำให้
     เด็กติดกระดุมด้ายตนเองไม่ได้ และไม่เกิดทักษะทางภาษา เพราะ เด็กไม่ได้บอกความ-
     ต้องการของตนเอง **

Post test

ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษา ในห้องเรียนเรียนรวมได้อย่างไร


   กิจกรรม ดนตรีบำบัด   





เด็กได้รับพัฒนาการอย่างรอบด้าน 


ด้านร่างกาย >> การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 
ด้านอารณ์   >> เด็กสนุกสนาน และได้ผ่อนคลาย 
ด้านสังคม   >> การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน
ด้านสติปัญญา >> เด็กได้จินตนาการ, การใช้สีที่หลากหลาย และการมีสมาธิ


การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. เป็นแนวทางการอ่านเนื้อหาต่างๆ ในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
    เพื่อสอบบรรจุข้าราชการ หลังเรียนจบ
2. สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายมากขึ้น เช่น โยน-รับ พร้อมเดินข้ามห่วง, กิจกรรมกิ้งกือ เป็นต้น
3. การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษ สามถรถจัดได้เหมือนกับเด็กปกติ
4. หากเด็กไม่พูด ครูต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ ทุกวัน จะทำให้เด็กสามารถพูดตามได้
5. การจัดห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา สามารถทำได้ เช่น แปะชื่อสิ่งของต่างๆ
    ที่อยู่ในห้องเรียน เด็กจะได้สังเกตการเขียนชื่อสิ่งของที่ครูเขียนติดไว้
6. สามารถกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง โดยการเข้าไปถาม
    ถ้าเด็กยังไม่พูดก็สามารถบอกบท เพื่อให้เด็กพูดตามได้
7. ให้เวลาเด็กได้พูด ไม่พูดขัดขณะที่เด็กพูด และรับฟังเด็ก
8. สามารถนำกิจกรรมดนตรีบำบัด มาใช้กับเด็กพิเศษ และเด็กปกติได้
   ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ จะต้องเงียบที่สุด ^^


การประเมิน

ประเมินตนเอง    :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกสิ่งที่เรียน 
                            ชอบกิจกรรม และเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว 
                            และสามารถนำมาไปใช้ได้จริง วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนแตกต่าง
                            กว่าทุกครั้ง เพราะอาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เรียนช่วงบ่าย มาเรียนรวมกัน
                            กับช่วงเช้า ทำให้มีเพื่อนๆในห้องเรียนมากขึ้น  รู้สึกเปลี่ยนบรรยากาศ 
                            แต่ก็สนุกสนานมากค่ะ  จากที่ไม่ค่อยได้เจอกันกับเพื่อนต่างกลุ่ม 
                            ก็ได้พูดคุยกัน^^ 
ประเมินเพื่อน      : เพื่อนๆส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ขณะเรียนมีการ
                           จดบันทึก เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในห้องเรียน แต่ก็มีคุย
                           และส่งเสียงดังบ้าง บรรยากาศสนุกสนานดี มีเสียงหัวเราะ
                           ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก 
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนสนุกมาก มีเนื้อหาที่กระชับ
                           เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาที่สอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
                           นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังมีกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน 
                           และมีกิจกรรมดนตรีบำบัด รูปแบบใหม่ที่ต่างจากครั้งที่แล้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดี
                           เหมาะสมการนำไปใช้กับเด็กได้เป็นอย่างดี 




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


วันอังคารที่ 3 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   


              กิจกรรมก่อนเรียน >>  กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต เป็นเกมสนุกๆ 
                                               ให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนานก่อนที่จะเริ่มเรียน ^^ 




^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  >> การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ ^^


1. ทักษะทางสังคม 
- การที่เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคมนั้น ไม่ได้เกิดจาพ่อแม่
- พัฒนาการของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง

   กิจกรรมการเล่น 
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอิ่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
- เด็กจะเลียนแบบการเล่นของเพื่อน

   ยุทธศาสตร์การสอน 
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น
- ครูจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- ครูต้องจดบันทึก และเขียนแผน IEP


     การกระตุ้นการเลียนแบบ
 - วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
 - คำนึงถึงเด็กทุกคน
 - ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
 - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ




                                                          
   ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
 - อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้ม และพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชย หรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม





การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
- ทำโดย " การพูดนำของครู "

  


 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้ กฎเกณฑ์
- เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
- การให้โอกาสเด็ก
- ครูไม่ต้องใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


    กิจกรรม ดนตรีบำบัด   









   เพลง สำหรับเด็กปฐมวัย    




คำถามท้ายหลังเรียน


ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคม ให้กับเด็กในห้องเรียนรวมได้อย่างไร 



การนำไปประยุกต์ใช้

1. เน้นการปรับพฤติกรรม และการส่งเสริมทักษะทางสังคมให้กับตัวเด็ก
    มากกว่าการจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงาม
2. ทักษะที่ควรเน้นกับเด็กพิเศษคือ ทักษะทางด้านสังคม, ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    และทักษะการใช้ภาษา
3. การจัดกลุ่มให้เด็กเล่น 4 คน ควรให้มีเด็กพิเศษจำนวน 1 คน และเด็กปกติจจำนวน 3 คน
4. ขณะที่เด็กเล่น ครูควรค่อยๆเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เล่นทุกอย่าง และสนใจทีละอย่าง
    เพราะถ้าให้อุปกรณ์ทั้งหมดในครั้งเดียว เด็กจะเล่นแค่บางอย่าง และเล่นไม่นาน
5. ครูไม่หันหลังให้เด็ก เพราะเด็กอาจเข้าใจว่าครูไม่สนใจ และเด็กอาจทำในสิ่งที่ครูไม่ได้ให้ทำ
    ครูต้องพยายามให้เด็กรู้สึกว่าครูมองอยู่ตลอด
6.ในการชมเชย ควรชมเฉพาะเมื่อเด็กทำสิ่งที่ครูให้ทำได้ (ชมเฉพาะสิ่งที่เป็นเป้าหมาย)
7. สามารถบอกบทได้ เพราะเด็กพิเศษ มักจะไม่พูด
8. ครูควรสร้างความสนใจให้กับเด็กที่อยากจะเข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อนที่กำลังเล่นกันอยู่
    เช่น ให้เด็กถือของเล่นเข้าไปในกลุ่มเพื่อน
9. เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
10. สามารถจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดได้ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ พัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน
      เป็นการฝึกสมาธิ, ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์, การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, ดนตรีทำให้ผ่อนคลาย
      และเด็กได้ถ่ายทอดความรู้สึกของเพลง และรวมถึงการทำงานร่วมกันกับเพื่อน


การประเมิน 

ประเมินตนเอง   :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
                           เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน สนใจ และตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
                           ขณะเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด ชอบในเนื้อหา และการยกตัวอย่างที่อาจารย์
                           นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ น่าสนใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน     : โดยส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบ
                            เพื่อนๆให้ความสนใจ มีส่วนร่วมให้ห้องเรียน มีการจดบันทึกความรู้ต่างๆ
                            บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน เฮฮา เรียนอย่างมีความสุข ^^
ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการยกตัวอย่างเพิ่มเติม
                            ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาได้ดี อาจารย์อารมณ์ดี สอนสนุกไม่เครียด
                            มีกิจกรรมดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง
                            ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ