ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ.2558

     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้     


- อาจารย์นัดแนะวันเรียนชดเชย (หยุดในวันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ.2558 ) 
  ซึ่งจะเรียนชดเชยในวันพฤหัสที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 
  โดยจะสอบร้องเพลง เวลา 10:00 น


     กิจกรรมก่อนเรียน >> ดิ่งพสุธา     


เป็นเกมทายใจสนุกๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายก่อนเริ่มเรียน 




^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  >> โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ^^



แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น โดยคณะกรรมการ, ผู้บรหาร, ครู 
-เพื่อให้เด็กได้รับการสอน และช่วยเหลือฟิ้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการ
  และความสามารถของเขา 
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
- ระบุวันเริ่มต้น และสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดประเมินผลเด็ก 

การเขียนแผน

- คัดแยกเด็กพิเศษ 
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ 
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถ ของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาว / ระยะสั้น 
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก 

- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
  ได้รับการศึกษา และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็ก 
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนให้เกมาะกับเด็ก 
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป 
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน และเขียนรายงานพัฒนาการ ความก้าวหน้าของเด็ก 
- ตรวจสอบ และประเมินได้เป็นระยะ 

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้าน กับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 

1. การรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

2. การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว >> กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ 
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น >> ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ 
- จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล 

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น  
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


     กิจกรรมหลังเรียน  >> แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล     


กิจกรรมกลุ่ม >> ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ
จากนั้นระดมความคิด ในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถนำวิธีการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปเขียนได้ 
    โดยระบุข้อมูลให้ถูกต้อง และครบถ้วน
2. ในการที่จะเขียนแผน IEP ได้นั้น จะต้องทราบข้อมูลเด็กทั้งหมด รวมถึงพฤติกรรมต่างๆของเด็ก 
    (ต้องใกล้ชิดกับเด็ก) จึงจะเป็นการเขียนแผนที่ถูกต้อง เหมาะสม และนำไปใช้ได้ตรงกับ-
    ความสามารถ และความต้องการของเด็ก เช่น
    ครูต้องทราบจุดเด่น และจุดด้อยของเด็ก เพื่อที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ 
3. ทราบว่าในการเขียนข้อมูลลงใน IEP นั้นจะต้องหาข้อมูลจากที่ใดบ้าง เช่น ข้อมูลทางการแพทย์  
4. การเขียนแผน IEP นั้นเป็นแนวทางในการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
    ทำให้ครูมีเป้าหมายที่ชัดเจน
5. สามารถประเมินผลได้จากการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมในด้านต่างๆของเด็ก
    โดยจะต้องบันทึกอย่างละเอียด ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น 

    

การประเมิน


ประเมินตนเอง    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
                           ชอบให้มรกิจกรรมก่อนเรียนค่ะ เพราะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานขึ้น 
                           เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน รู้สึกว่าการเขียนแผน IEP ไม่ยากอย่างที่คิด 
                           แต่จะต้องทราบข้อมูล และพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างดี 
                           มีส่วนร่วมในห้องเรียนในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม และร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม 
                          กับเพื่อนๆ อย่างสนุกสนานค่ะ ^^
ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก 
                          เพื่อนๆ ตั้งใจ และร่วมมือช่วยกันคิดกิจกรรมกลุ่ม การเขียนแผน IEP 
                          บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานในการเรียน และทำกิจกรรม^^ 
ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ นัดแนะวันเรียนชดเชยอย่างชัดเจน 
                           มีเทคนิกการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย ไม่เคร่งเครียดในเนื้อหาวิชา
                           และสอนสนุกสนานมากเหมือนทุกครั้งเลยค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 


วันอังคารที่ 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558



     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้     

วันนี้อาจารย์แจกสีไม้ให้นักศึกษาคนละ 1 กล่อง 
และเฉลยข้อสอบที่ได้สอบไป พร้อมอธิบาย และยกตัวอย่าง 


^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ >> การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ^^ 

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน 

เป้าหมาย 
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง 
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ 
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
- เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ

ตัวอย่าง
 ครูจะใช้ให้น้องไปหยิบสี (ครูรู้ว่าน้องหยิบสีไม่ได้) ครูควรเรียกเพื่อนอีกคนเป็นคู่บัดดี้ (เด็กปกติ) 
เพื่อให้น้องได้หยิบสี ทำตามคู่บัดดี้ (เด็กปกติ)

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ 
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ 
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่ 
*ควรซ้ำหลายๆรอบ และสังเกตปฎิกิริยาตอบสนองของเด็ก * 

การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม


                                                       
  การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก 
- การกรอกน้ำตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

                                                




ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ 
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
- รูปต่อที่มีจำนวนขิ้นไม่มาก
  




                                                        
   ความจำ
  - จากการสนทนา
  - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
  - จำตัวละครในนิทาน







           ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 
           - มิติสัมพันธ์ 
           - การวัด
           - การตวง
           - การชั่ง
            - การเปรียบเทียบ





การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ 
- ให้งานเด็กชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน 
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง 
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย 
- จดบันทึกว่าเด็กชอบทำอะไรมากที่สุด 
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง 
- พูดในทางที่ดี (การชม)
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก 

* การแจกอุปกรณ์ ครูควรให้เด็กได้เดินมาหยิบอุปกรณ์ด้วยตนเอง * 


การนำไปประยุกต์ใช้


1. เด็กมีช่วงความสนใจที่สั้น (ไม่เกิน 3 นาที) ครูควรฝึกให้เด็กมีสมาธิให้มากขึ้น 
    เช่น การเล่านิทาน ควรเริ่มจากการเล่านิทานเรื่องที่มีเนื้อหาสั้นๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มระดับ
    ความยาวของเนื้อเรื่อง เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเขาสามารถฟังจนจบได้ 
2. เด็กเรียนรู้จากการเลียนแบบ ดังนั้นครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
    จากการเลียนแบบเพื่อน (เด็กปกติ) โดยการจับคู้บัดดี้ให้กับเด็ก 
3. การจัดอุปกรณ์ หรือสื่อให้เด็กเล่นนั้น ควรเป็นอุปกรณืที่มีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะจับได้ 
    และจำนวนไม่มาก เพราะเด็กจะสามารถเล่นได้จนสำเร็จ  และควรเป็นอุปกรณ์ที่ด็กคุ้นเคย 
    จะทำให้เด็กเกิดความมั้นใจมากขึ้น เพราะเด็กเคยใช้มาแล้ว 
4. ครูต้องคอยพูดถาม คอยชี้นำคำตอบให้กับเด็ก และพูดชื่นชมเด็ก 


การประเมิน 

ประเมินตนเอง  : เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้ใส่เสื้อสีดำมาเรียน เพราะลืมเสื้อสีชมพู
                         ตั้งใจเรียน  จดบันทึกอย่างละเอียด เพราะจะได้ไม่ลืม พอกลับมาอ่านทบทวน
                         จะได้จำได้ มีส่วนร่วมตอบคำถามที่อาจารย์ถาม ยังร้องเพลงไม่ค่อยได้
                         มีหลายเพลงที่ไม่เคยฟังมาก่อน เพลงที่อาจารย์นำมาสอนเพราะมากค่ะ
                         เหมาะกับเด็กๆมาก เรียนสนุกไม่เครียดค้ะ ^^
ประเมินเพื่อน    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนๆตั้งใจเรียน จดบันทึกที่อาจารย์สอน
                         มีคุยกันบ้าง เล่นกันบ้าง แต่ทุกคนก็ตั้งใจฟัง และชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
                         เหตุการณ์ให้ฟัง ไม่น่าเบื่อ ไม่เครียด บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน
                         เหมือนทุกครั้ง
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์เฉลยข้อสอบอย่างละเอียด
                          ทำให้เข้าใจมากค่ะ เนื้อหาที่สอนไม่มากจนเกินไป อาจารย์ยกตัวอย่าง
                          ที่เข้าใจง่าย ตอบคำถามที่เพื่อนถาม ให้ความสนใจนักศึกษามาก
                          ร้องเพลงเพราะ สอนสนุกมากค่ะ





วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากใกล้ถึงวันกีฬาสี      

อาจารย์จึงให้นักศึกษาทำอุปกรณ์ ที่ใช้ในงานกีฬาสี