บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
^^ กิจกรรมในวันนี้ ^^
กิจกรรมวาดภาพ ระบายสีดอกทานตะวัน ตามตัวอย่าง และบรรยายภาพจากสิ่งที่เห็น
^^ ผลงานของฉัน ^^
กิจกรรมนี้ได้สอนถึงการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
ซึ่งจะต้องบันทึกลงไปตามสภาพความเป็นจริง เห็นอย่างไรบันทึกอย่างนั้น ไม่ใช้อารมณ์
หรือความรู้สึกลงไป เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เป็นจริง และนำข้อมูลมาประเมินพัฒนาการ
ของเด็กได้อย่างถูกต้องที่สุด
ซึ่งจะต้องบันทึกลงไปตามสภาพความเป็นจริง เห็นอย่างไรบันทึกอย่างนั้น ไม่ใช้อารมณ์
หรือความรู้สึกลงไป เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เป็นจริง และนำข้อมูลมาประเมินพัฒนาการ
ของเด็กได้อย่างถูกต้องที่สุด
บทเรียนในวันนี้ >> บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
- ครูไม่ควรวินิจฉัย
>> ครูต้องไม่ตัดสินว่าเด็ก เป็นเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ เพราะอาจเข้าใจผิดได้
แต่สามารถสัณนิฐานได้ โดยดูจากอาการ และพฤติกรรม
**ห้ามบอกกับผู้ปกครองของเด็กว่า เด็กมีความบกพร่องในด้านต่างๆ**
**ห้ามบอกกับผู้ปกครองของเด็กว่า เด็กมีความบกพร่องในด้านต่างๆ**
- ครูไม่ควรตั้งชื่อ หรือระบุประเภทเด็ก
>> การตั้งฉายา จะทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย และการที่ไปเรียกประเภทของเด็ก
เช่น "น้องสติปัญญาต่ำ" ซึ่งอาจทำให้เด็กเป็นเช่นนั้นจริงๆ
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
>> เพราะพ่อแม่ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกมีปัญหา และไม่ต้องการให้ครูมาย้ำ แต่ครูควรพูดในทางบวก
พูดในสิ่งที่เด็กทำได้ ก็เท่ากับการบอกในทางอ้อมว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวัง และมีแนวทางช่วยให้เด็กพัฒนา
- ครูทำอะไรบ้าง
>> ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
>> ให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสม ในการประเมินผล หรือวินิจฉัย
>> สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
>> จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
การบันทึกการสังเกต
1. การนับอย่างง่าย
>> เป็นการนับจำนวนครั้งของพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง และเกิดขึ้น
ในระยะเวลาใด เช่น เมื่อไม่พอใจ เด็กจะกระทืบเท้า วันละ 10 ครั้ง เป็นต้น
ในระยะเวลาใด เช่น เมื่อไม่พอใจ เด็กจะกระทืบเท้า วันละ 10 ครั้ง เป็นต้น
2. การบันทึกต่อเนื่อง
>> ให้รายละเอียดมาก และมีคุณภาพมากที่สุด เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
>> บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้น เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ในช่วงเวลาหนึ่ง
บันทึกต่อเนื่อง |
บันทึกไม่ต่อเนื่อง |
^^ การจดบันทึกเป็นคำๆ ^^
** การบันทึกจะต้องบรรยายตามสภาพจริง ไม่ใส่ความรู้สึกตนเองลงไป **
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
>> ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
>> พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
>> ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ไตร่ตรองให้ดีก่อนพูด
>> พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรม
เข้าใจในบทเรียน พยายามวาดภาพดอกทานตะวัน
ให้เหมือนกับแบบ แต่การบันทึกจากสิ่งที่เห็นในภาพ
ยังบันทึกโดยใส่ความรู้สึกลงไปด้วย เมื่อนำไปใช้กับเด็ก
จะบันทึกพฤติกรรมจากสิ่งที่เห็น ตามความเป็นจริง ไม่ใส่ความรู้สึกค่ะ
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ในการบันทึกจากสิ่งที่เห็นในภาพดอกทานตะวัน ส่วนมากใส่ความรู้สึกลงไป
แต่มีบางคนได้บันทึกจากสิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่ใส่ความรู้สึก
ของตนเองลงไป ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
ทำให้นักศึกษาได้รับทั้งความรู้ และความสนุกสนานในการทำกิจกรรม
อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด และยกตัวอย่าง ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
^^ เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ^^
การนำไปประยุก์ใช้
1. ไม่ไปตัดสินว่าเด็กมีความบกพร่องทางด้านต่างๆ และไม่บอกผู้ปกครองว่าเด็กบกพร่องอย่างไร
2. ไม่ตั้งฉายาเด็ก
3. ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ต้องสังเกตตลอด สังเกตเป็นประจำ
ไม่ใช่สังเกตเพียงแค่1 หรือ2 ครั้ง
4. สามารถจดบันทึกพฤติกรรมเด็กได้ โดยบันทึกจากสิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง
5. สามารถนำเพลงมาสอนเด็กได้ เช่น เพลงฝึกกายบริหาร จะใช้ในกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น
3. ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ต้องสังเกตตลอด สังเกตเป็นประจำ
ไม่ใช่สังเกตเพียงแค่1 หรือ2 ครั้ง
4. สามารถจดบันทึกพฤติกรรมเด็กได้ โดยบันทึกจากสิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง
5. สามารถนำเพลงมาสอนเด็กได้ เช่น เพลงฝึกกายบริหาร จะใช้ในกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น
การประเมิน
เข้าใจในบทเรียน พยายามวาดภาพดอกทานตะวัน
ให้เหมือนกับแบบ แต่การบันทึกจากสิ่งที่เห็นในภาพ
ยังบันทึกโดยใส่ความรู้สึกลงไปด้วย เมื่อนำไปใช้กับเด็ก
จะบันทึกพฤติกรรมจากสิ่งที่เห็น ตามความเป็นจริง ไม่ใส่ความรู้สึกค่ะ
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ในการบันทึกจากสิ่งที่เห็นในภาพดอกทานตะวัน ส่วนมากใส่ความรู้สึกลงไป
แต่มีบางคนได้บันทึกจากสิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่ใส่ความรู้สึก
ของตนเองลงไป ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
ทำให้นักศึกษาได้รับทั้งความรู้ และความสนุกสนานในการทำกิจกรรม
อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด และยกตัวอย่าง ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น