ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558



^^ กิจกรรมในวันนี้ ^^

กิจกรรมวาดภาพ ระบายสีดอกทานตะวัน ตามตัวอย่าง และบรรยายภาพจากสิ่งที่เห็น


^^ ผลงานของฉัน ^^ 

             กิจกรรมนี้ได้สอนถึงการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
ซึ่งจะต้องบันทึกลงไปตามสภาพความเป็นจริง เห็นอย่างไรบันทึกอย่างนั้น ไม่ใช้อารมณ์
หรือความรู้สึกลงไป เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เป็นจริง และนำข้อมูลมาประเมินพัฒนาการ
ของเด็กได้อย่างถูกต้องที่สุด

   บทเรียนในวันนี้ >> บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม   

- ครูไม่ควรวินิจฉัย
 >> ครูต้องไม่ตัดสินว่าเด็ก เป็นเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ  เพราะอาจเข้าใจผิดได้ 
      แต่สามารถสัณนิฐานได้ โดยดูจากอาการ และพฤติกรรม
**ห้ามบอกกับผู้ปกครองของเด็กว่า เด็กมีความบกพร่องในด้านต่างๆ**

- ครูไม่ควรตั้งชื่อ หรือระบุประเภทเด็ก 
>> การตั้งฉายา จะทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย และการที่ไปเรียกประเภทของเด็ก
 เช่น "น้องสติปัญญาต่ำ"  ซึ่งอาจทำให้เด็กเป็นเช่นนั้นจริงๆ

- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ 
>> เพราะพ่อแม่ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกมีปัญหา และไม่ต้องการให้ครูมาย้ำ แต่ครูควรพูดในทางบวก 
พูดในสิ่งที่เด็กทำได้ ก็เท่ากับการบอกในทางอ้อมว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวัง และมีแนวทางช่วยให้เด็กพัฒนา

- ครูทำอะไรบ้าง
>> ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
>> ให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสม ในการประเมินผล หรือวินิจฉัย
>> สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
>> จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

การบันทึกการสังเกต

1. การนับอย่างง่าย 
>> เป็นการนับจำนวนครั้งของพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง และเกิดขึ้น
     ในระยะเวลาใด เช่น เมื่อไม่พอใจ เด็กจะกระทืบเท้า วันละ 10 ครั้ง เป็นต้น

2. การบันทึกต่อเนื่อง
>> ให้รายละเอียดมาก และมีคุณภาพมากที่สุด เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
     หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
    
3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง 
>> บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้น เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ในช่วงเวลาหนึ่ง


บันทึกต่อเนื่อง 


บันทึกไม่ต่อเนื่อง 



^^ การจดบันทึกเป็นคำๆ ^^


                       

** การบันทึกจะต้องบรรยายตามสภาพจริง ไม่ใส่ความรู้สึกตนเองลงไป **


การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป 
>> ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง 
>> พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
>> ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ไตร่ตรองให้ดีก่อนพูด
>> พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


^^ เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ^^ 

วันนี้อาจารย์สอน เพลงฝึกกายบริหาร



^^ ทดสอบ ตอบให้ถูกนะจ๊ะ ^^



การนำไปประยุก์ใช้ 

1.  ไม่ไปตัดสินว่าเด็กมีความบกพร่องทางด้านต่างๆ และไม่บอกผู้ปกครองว่าเด็กบกพร่องอย่างไร 
2. ไม่ตั้งฉายาเด็ก
3. ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ต้องสังเกตตลอด สังเกตเป็นประจำ
    ไม่ใช่สังเกตเพียงแค่1 หรือ2 ครั้ง
4.  สามารถจดบันทึกพฤติกรรมเด็กได้ โดยบันทึกจากสิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง
5. สามารถนำเพลงมาสอนเด็กได้ เช่น เพลงฝึกกายบริหาร จะใช้ในกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น

การประเมิน

ประเมินตนเอง     :  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรม
                             เข้าใจในบทเรียน พยายามวาดภาพดอกทานตะวัน
                             ให้เหมือนกับแบบ แต่การบันทึกจากสิ่งที่เห็นในภาพ
                             ยังบันทึกโดยใส่ความรู้สึกลงไปด้วย เมื่อนำไปใช้กับเด็ก
                             จะบันทึกพฤติกรรมจากสิ่งที่เห็น ตามความเป็นจริง ไม่ใส่ความรู้สึกค่ะ
ประเมินเพื่อน       :  เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
                              ในการบันทึกจากสิ่งที่เห็นในภาพดอกทานตะวัน ส่วนมากใส่ความรู้สึกลงไป
                              แต่มีบางคนได้บันทึกจากสิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่ใส่ความรู้สึก
                              ของตนเองลงไป ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์    :  เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
                              ทำให้นักศึกษาได้รับทั้งความรู้ และความสนุกสนานในการทำกิจกรรม
                              อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด และยกตัวอย่าง ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น



วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วันอังคารที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2558



^^ ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ^^

รูปแบบการจัดการศึกษา

- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming )
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)

- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปทำงานร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน 
- ครูปฐมวัยและครูการศึกาาพิเศษร่วมมือกัน

การศึกษาแบบเรียนร่วม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียยนปกติในบางเวลา 
- เด็กพิเศษมีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงมาก จึงเรียนร่วมเต็มเวลาไม่ได้

** เป็นเด็กพิเศษที่มีอาการค่อนข้างหนัก มาเรียนไม่เต็มวันมักมาร่วมในช่วงกิจกรรมเคลื่อนไหว,
 ดนตรี, ศิลปะ, กลางแจ้ง ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์จะยากเกินไป ** 

2. การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
- จัดให้เด็กเรียนในโรงเรียน
- จัดกิจกรรมให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้ และบริการนอกห้องเรียน เหมือนเด็กปกติ
- เป้าหมาย เพื่อให้เด็กเข้าในซึ่งกันและกัน มีปฎิสัมพันธที่ดีต่อกัน
- เด็กจะเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างของเพื่อนได้

** เมื่อมีเด็กพิเศษในห้องเรียน ครูจำเป็นต้องบอกกับเด็กปกติตามความเป็นจริง อาจกล่าวว่า
"เพื่อนไม่ค่อยแข็งแรง ต้องช่วยเหลือ ดูแลเพื่อนนะ แล้วถ้ามีอะไรให้บอกครู "
เพราะถ้าครูไม่บอกเด็กจะมาถามครู, ถามผู้ปกครอง หรืออาจจะไปถามเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษ**

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (ความหมายสากล^^)

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

(แปล^^)

“การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน โดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เล็กๆ
เด็กแต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน ต้องจัดการศึกษาที่เหมาะสม”

                        ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
       
          การศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษ และเด็กปกติเรียนรวมกัน
ซึ่งเด็กพิเศษสามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม 

          จากการวิจัย เด็กพิเศษหลายประเภท เทียบกับเด็กพิเศษที่ศึกษาแบบเรียนรวม พบว่า
พัฒนาการทางด้านร่างกาย และสติปัญญา >> อยู่มีระดับใกล้เคียงกัน
ส่วนพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคม        >> เด็กพิเศษที่เข้ารับการศึกษาแบบเรียนรวม 
มีพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคม ที่ดีกว่าเด็กพิเศษที่เรียนเฉพาะการศึกษาพิเศษ

           ท้ายคาบ อาจารย์ได้ให้นักศึกษา ทบทวนเพลงสำหรับเด็กที่ได้เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว 
เพื่อให้นักศึกษาร้องเพลงได้ดียิ่งขึ้น หลังจากทบทวนเพลงแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษา ทำแบบทดสอบ หลังเรียน เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา ว่าเข้าใจมากน้อยเพียงใด และเข้าใจถูกต้อง
หรือไม่  

การนำไปประยุกต์ใช้

1. จัดการเรียนการสอนในชั้นปฐมวัยให้กับเด็กพิเศษได้ เพราะวัยนี้เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ได้ดีที่สุด 
   เป็นช่วงที่สมองกำลังสร้างเซลล์สมอง  ซึ่งหลังอายุ 7 ขวบ เซลล์สมองจะไม่สร้างอีกแล้ว 
2. เมื่อมีเด็กพิเศษในห้องเรียน ครูจะต้องบอกให้เด็กปกติเข้าใจความแตกต่างของเพื่อน 
    ควรโน้มน้าวให้เด็กรักกัน  และไม่ยกจุดด้อยของเด็กมาล้อ 
3. ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กกล้าในสิ่งที่เหมาะสม การปรับตัว และการใช้ชีวิต มากกว่าการเน้น
    วิชาการ เพราะอนาคตเด็กต้องเผชิญสังคม และใช้ชีวิตด้วยตนเอง 
4. สามารถส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย, อารมณ์, สังคม และสติปัญญาได้ 
5. สามารถนำเพลงไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ

การประเมิน

ประเมินตนเอง    :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และจดบันทึกย่อ  
                             เข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียน เรียนสนุกสนาน สบายๆ ไม่เครียด 
                             ส่วนการร้องเพลง ยังร้องเพลงไม่ค่อยถูกเนื้อ 
                             และไม่ค่อยถูกทำนอง แต่จะฝึกฝน  และจะนำนำไปใช้สอนเด็กๆค่ะ 
ประเมินเพื่อน     :    เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม
                             ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียน เพื่อนๆ อารมณ์ดี ร่าเริง 
                             จึงทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมาก                        
ประเมินอาจารย์ :    เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์อธิบาย และยกตัวอย่างที่เข้าใจง่าย 
                            และสามารถนำไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม 
                            สอนสนุก ทำให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข ^^ 


วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 


วันอังคารที่ 13 เดือนมกราคม พ.ศ.2558



^^ ความรู้ได้รับในวันนี้ ^^

วันนี้อาจารย์ได้เล่าเรื่อง การไปออกค่ายจิตอาสา จัดห้องเรียนให้กับโรงเรียนอนุบาล
จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโครงการของรุ่นพี่ปี 4
และ อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของเทอมทีผ่านมา เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง




^^ กิจกรรม ^^

ทดสอบความรู้ที่ได้เรียนมา
อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับความรู้เดิม ที่ได้เรียนในเทอมที่แล้ว


^^ เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย  ^^



การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. สามารถเลือกเพลง หรือนำเพลงไปใช้สอนเด็กในกิจกรรมต่างๆได้ 
2. สามารถนำความรู้เดิม และความรู้ใหม่มาเชื่อมโยงในการเรียน และการนำไปใช้ได้ 

การประเมิน

ประเมินตนเอง    :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และจดบันทึก 
                             เรียนไม่เครียด สนุกสนานมากค่ะ
ประเมินเพื่อน     :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และมีการจดบันทึก
                             มีส่วนร่วมในการเรียน มีการออกความคิดเห็น 
                             บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ :    เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิกการสอนที่สนุกสนาน 
                             ร่าเริง อารมณ์ดี  สอนเข้าใจง่าย