ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


วันอังคารที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


    HAPPY BIRTHDAY   


  ^^ สุขสันต์วันเกิดอาจารย์เบียร์ ^^


วันนี้ดิฉัน และเพื่อนๆได้ทำเซอร์ไพรซ์ตุ๊กตาหมีน้อย ตัวเท่ากับอาจารย์เลย^^ 
บรรยากาศในห้องเรียนซึ้งมากๆเลย ดีใจที่อาจารย์ชอบของขวัญชิ้นนี้ ค้ะ
ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ  

ภาพบรรยากาศ 







วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 


วันอังคารที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้    


กิจกรรมเล่าสู่กันฟัง >>  อาจารย์ได้เล่าเรื่อง การประชุมของคณะศึกษาศาสตร์ให้นักศึกษาได้ทราบ
ในเรื่องการแต่งกาย และเรื่องการรับจำนวนของนักศึกษาสาขาปฐมวัยในปีการศึกษาหน้า

กิจกรรมวาดมือของฉัน >>  อาจารย์แจกถุงมือให้นักศึกษาคนละ 1 ข้าง โดยให้สวมถุงมือในข้างที่
ไม่ถนัด จากนั้นให้นักศึกษาวาดภาพหลังมือของตนเอง (วาดข้างที่สวมถุงมือ) อย่างละเอียด


เนื้อหา >> การสอนเด็กพิเศษ และเด็กปกติ 
ทักษะของครู และทัศนคติ >> ครูต้องมองเด็กเป็นภาพรวม มองว่าเด็กทุกคนเหมือนกัน อย่าเพ่งเล็งเด็กที่มีความบกพร่อง เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสงสัย

การฝึกเพิ่มเติม
การอบรมครูจากผู้เชื่ยวชาญ เกี่ยวกับเด็กพิเศษ เพื่อให้ครูเข้าในยิ่งขึ้น
และครูต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม - สื่อ
                                         - เว็ปไซต์ (ศึกษาหลายๆเว็ป)
                                         - หนังสือ
การเข้าใจภาวะปกติ 
ในห้องเรียนเด็กทุกคน มีความคล้ายกัน ไม่แตกต่างกันมาก
ครูต้องรู้จักเด็ก และมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กทุกคน
มองเด็กให้เป็น "เด็ก"

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ  >> เด็กในห้องเรียนเดียวกัน มีวุฒิภาวะไม่ค่อยต่างกัน
- แรงจูงใจ >> ต้องมีวิธีในการโน้มน้าวให้เด็กเกิดแรงจูงใจ
- โอกาส   >> เด็กแต่ละคนมีโอกาสแตกต่างกัน

การสอนโดยบังเอิญ
- เด็กเข้ามาถามครู  และครูก็สอน

เช่น น้องดาวน์ เข้ามาหาครู ยื่นสีให้ครูเพราะสีกุด ครูจึงสอนกกะกระดาษที่พันสีออก ต้องสอนซ้ำๆ และสอนทุกครั้งที่เด็กมาถาม หรือขอความช่วยเหลือ

ในการสอนโดยบังเอิญ   - ครูต้องที่จะพบเด็ก
                                      - ครูต้องมีความสนใจเด็ก
                                      - ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
                                      - ครูต้องมีอุปกรณ์ และกิจกรรมล่อใจเด็ก
                                      - ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
                                      - ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
                                      - ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

ตารางประจำวัน
เด็กชอบตารางเวลาที่คุ้นเคย การเรียงลำดับเวลาที่เด็กสามารถคาดเดาได้
ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจขึ้น มีการสลับกันในกิจกรรมเงียบๆ และกิจกรรม
ที่เคลื่อนไหวมากๆ คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา

ทัศนคติของครู 
- ความยืดหยุ่น >> แผนสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
                        >> ยอมรับของเขตควาสามารถของเด็ก
                        >> ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

เช่น น้องออร์ทิสติก มีพฤติกรรม >> เมื่อเพื่อนเข้ามาเล่นบล็อกด้วย น้องจะตีเพื่อนทันที
พฤติกรรมนี้เป้าหมายที่สำคัญคือ ครูควรแก้ไขเรื่องการตีเพื่อน

- การใช้สหวิทยาการ
 >> รับฟังข้อมูล หรือคำแนะนำจากบุคคลในแาชีพอื่นๆ
 >> ความสำพันธ์ระหว่างการบำบัด กับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ 
- เด็กบางคนสอนได้ เด็กไม่ได้ไร้ความสามารถ แต่อาจช้ากว่าเด็กปกติ
- ให้มองว่า เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

การให้แรงเสริม
- ให้ความสนใจเด็ก   - ยิ้ม
- ให้คำชื่อนชน         - ให้ความช่วยเหลือ
- สัมผัส กอด            - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริม  
- ต้องให้แรงเสริมทันที
- ไม่สนใจ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- ให้ความสนใจเด็กที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เช่น  วัตถุประสงค์คือ เด็กต่อบล็อกได้
ครูควรชมในเรื่องการต่อบล็อกได้ เพียงอย่างเดียว เพราะการชมในเรื่องต่างๆนาๆ ที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ จะเป็นการชมไปเรื่อยๆ ไม่มีเป้าหมาย

การแนะนำหรือบอกบท  (Prompting)
- การย่อยงาน
- การลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานจะเป็นแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรม
- การบอกบทจะค่อยๆลดลงตามลำดับ เพราะเด็กสามารถทำได้มากขึ้น
- การกำหนดเวลา
- การให้แรงเสริมอย่างเหมาะสม

ความต่อเนื่อง 
- พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างมารวมกัน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น

การตักซุป
1. การจับช้อน
2. การตัก
3. การระวังไม่ให้น้ำซุปในช้อนหก ก่อนจะเข้าปาก
4. การเองช้อน และซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกราดคาง
5. การเองซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

 ลำดับการสอนจากข้อ 1ถึงข้อ5 เป็นการสอนแบบก้าวไปข้างหน้า
 ส่วนการสอนจากข้อ 1-4 ครูทำให้ และให้เด็กทำเองในข้อที่ 5 เป็นการสอนแบบย้อนมาจากข้างหลัง
** การที่เด็กทำขั้นสุดท้ายเองได้ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองทำสำเร็จ ^^

การลดหรือหยุดแรงเสริม 
- ไม่สนใจหากเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- เอาอุปกรณ์ หรือของเล่นออกจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากของเล่น (Time Out)

คงเส้นคงวา
การจัดการเรียนการสอนที่ดี และเหมาะสมตั้งแต่ต้นปีการศึกษา จนจบปีการศึกษา


การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. การปรับทัศนคติ ในการมองเด็กในห้องเรียนให้เป็นภาพรวม ไม่เพ่งเล็งเด็กที่บกพร่อง
2. ศึกษาความรู้เพิ่มเติม จากแหล่งข้อมูลต่างๆเสมอ
3. จำชื่อ- สกุล และชื่อเล่นของเด็กได้ทุกคน
4. พร้อมที่จะสอนเมื่อเด็กถาม หรือเมื่อเด็กขอความช่วยเหลือ
5. จัดทำตารางเวลาที่เหมาะสม
6. สามารถสอนพฤติกรรมให้ตรงกับเป้าหมายที่สำคัญ
7. รับฟังคำแนะนำจากบุคคลอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูล
8. สามารถให้แรงเสริมแก่เด็กอย่างถูกวิธี


การประเมิน

ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึก
                            ขณะทำกิจกรรมวาดมือ วาดยังไม่เหมือเพราะบางจุดก็จำไม่ได้
                           วันนี้มีเนื้อหาค่อนข้างมาก ทำให้ง่วงบ้าง แต่ก็สนุกสนานในการเรียน
                           มีส่วนร่วมในการเรียน เข้าใจในเนื้อหา
ประเมินเพื่อน      : ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน จดบันทึกสิ่งต่างๆ
                          เรียน และทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน ทุกคนมีส่วนร่วมในการ
                          แสดงความคิดเห็น บางคนก็ง่วงบ้าง เพราะมีเนื้อหาค่อนข้างมาก
                          แต่บรรยากาศในห้องเรียนก็ยังคงสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา สอนสนุก และมีเทคนิกในการสอนที่ดีมาก และเข้าใจง่าย
                          อาจารย์สอนทั้งเนื้อหาวิชาการ และการนำไปใช้จริง
                          มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา อาจารย์ยกตัวอย่างสอดแทรกเชื่อมโยงเนื้อหา
                         ให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น อาจารย์ร่าเริง  และอารมณ์ดี ในการสอนทุกครั้ง ^^


วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


วันอังคารที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


 วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์มีภารกิจ 
จึงให้นักศึกษาบันทึกบล็อก และใส่องค์ประกอบของบล็อกให้เรียบร้อย